มีอาจารย์สุพล ปวราจารย์เป็นวิทยากรหลัก
กำลังขึ้นบันไดนาควัดพระธาตุลำปางหลวง
พระธาตุลำปางหลวง
นาคชูคอบนซุ้มโขงทางเข้าหลักของเขตพุทธาวาสของวัดพระธาตุลำปางหลวง
ทันทีที่นักศึกษาได้รับรู้สเกลของวัดพระธาตุลำปางหลวง เราก็พาไปสัมผัสกับสเกลที่แตกต่างในผังเดียวกันที่วัดไหล่หินจนหลายคนรับรู้ได้ถึงความหมายของคำว่า"สเกล"ในงานสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้แปลว่า"มาตราส่วน"
จากนั้นเราไปวัดปงสนุก ซึ่งบูรณะเสร็จแล้ว
หลายคนได้วิชาความรู้สถาปัตยกรรมไทยจากอาจารย์แล้ว ยังได้รู้ดวงชะตาของตนอีกด้วย
เราตียาวมุ่งสู่เมืองน่าน และมีโอกาสแวะวัดพญาวัดก่อนเข้าเมือง เพื่อดูพระเจดีย์เหลี่ยมที่ได้อิทธิพลทั้งจากหริภุญชัยและล้านช้าง
รุ่งขึ้นวันที่ 16 เราไปใจเมืองน่าน หมอกยังหนา อากาศยังหนาว ผมได้ภาพวิหารวักภูมินทร์ในอีกบรรยากาศหนึ่งแล้ว
อาจารย์สุพลบรรยาย นักศึกษาจด อาจารย์วีรพจน์เก็บหลักฐานภาพถ่าย
ถ่ายภาพร่วมกันไว้เป็นที่ระลึก แวนดราน่า นักศึกษาแลกเปลี่ยนก็ร่วมถ่ายภาพด้วย
แล้วเราก็เดินข้ามถนนไปวัดช้างค้ำ ส่วนบนองค์พระธาตุหุ้มแผ่นทองแล้ว
เณรทั้งหลายมานั่งเข้าแถวเตรียมทำงานตอนเช้า
อักษรย่อใต้หน้าบันของหอไตรวัดช้างค้ำที่พวกเราช่วยกันตีความแต่ไม่สำเร็จ
แท้แล้วย่อจากความว่า "พระเจ้าน่านพระราชกุศลถวายพระพุทธเจ้าหลวง"
ข้ามถนนอีกทีไปดูวัดหัวข่วง มีพระธาตุทรงปราสาททรงสวยสัดส่วนดี มีหอไตรทรงพื้นเมืองขนาดกะทัดรัด
ตอนบ่าย เรามุ่งหน้าสู่ดินแดนไตลื้อที่อำเภอเชียงกลาง ปัว และท่าวังผา
วัดแรกที่เราแวะคือวัดต้นแหลง ดูวิหารแบบลื้อ
ไปดูวิหารลื้อวัดหนองแดง
นาคตันลวดลายสวยงามไม่ซ้ำแบบของวิหารวัดหนองแดง
ส่วนหนึ่งเข้าข้างใน จอดรองเท้าไว้ตรงทางเข้า อีกส่วนหนึ่งเดินดูไปรอบๆวิหาร