Wednesday, July 27, 2011

"สังฆ์" แบบเดิมๆที่ไม่ใช่น้ำคุสีเหลืองห่อพลาสติก

สังฆ์ ใช้ในการถวายทานทำบุญทั่วไป (ภาพที่นำมาคือจะใช้ทำบุญวันเข้าพรรษา) ของที่ใส่ในสังฆ์จะเป็นของกินของฉัน และของใช้ในชีวิตประจำวัน
ประกอบด้วย
1. พริกแห้ง
2. เกลือ
3. ข้าวสุก
4. ข้าวสาร
5. อาหารคาว
6. ขนม
7. ห่อหมากห่อพูล (ไม่ใส่ก็ได้)
8. สวยดอก เทียนเล่มเล็ก 2 อัน
9. ปัจจัย

ในรูปนี้แกใส่หมอนหนุนไปด้วย อันนี้ใส่ไม่ใส่ก็ได้








วันดา (วันเตรียม) แม่อุ้ยพ่ออุ้ยจะไม่ไปทำงาน จะเตรียมของเพื่อทำบุญในวันรุ่งขึ้น
มีทำขนมจ๋อก กับข้าว สวยดอก ฯลฯ

Friday, December 4, 2009

ทำบุญตานข้าวใหม่และเผาหลัวพระเจ้าที่แม่แจ่ม

วันสามเป็งหรือวันเพ็ญเดือนสาม เป็นวันตานข้าวใหม่และเผาหลัวพระเจ้า
การตานข้าวใหม่คือการนำเอาข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ใหม่สำหรับการทำนาปีนี้ไปถวายทานที่วัด
เดิมการตานข้าวใหม่จะทำกันในวันสี่เป็ง แต่เดี๋ยวนี้ข้าวสุกเร็ว เก็บเกี่ยวเร็วขึ้น บางวัดจึงเลื่อนมาเป็นวันสามเป็ง บางวัดก็ยังคงทำกันในวันสี่เป็ง

ก่อนวันนึง ตอนเย็นเราไปดูการเตรียมงานที่วัดห้วยริน เจ้าอาวาสจะมีพิธีเตรียมน้ำส้มป่อยในวิหาร

จากนั้นจึงนำน้ำส้มป่อยมาปะพรมกองหลัวที่พระเณรและชาวบ้านช่วยกันไปตัดมากองสุมไว้
ไม้ที่ตัดมาก็จะเลือกไม้ที่มีนามมงคล รวมทั้งไม้ไผ่เพื่อให้ไม้ไผ่แตกมีเสียงดังตอนเผา

เช้าวันรุ่งขึ้น พวกเราตื่นกันแต่เช้า ไปถึงวัดกันตีห้ากว่าๆ ความจริงพระท่านจะเผาหลัวพระเจ้าประมาณตีสี่ แต่ปีนี้ท่านเห็นใจพวกเรา กลัวไม่ได้เห็นพิธี ก็เลยปะวิงเวลามากว่าชั่วโมง



ภายในศาลา ศรัทธาก็พากันมาใส่ขันดอก ภายในวิหารก็จะตานข้าวใหม่ ทั้งข้าวเปลือกและข้าวสาร การตานก็ทำในลักษณะ"ตานข้าวล้นบาตร"คือเทลงไปในให้ล้นบาตร จะมีคนคอยยกบาตรให้สูงขึ้นเรื่อยไม่ให้จมหายไปในกองข้าว

พอได้เวลา เจ้าอาวาสก็จุดไฟเผาหลัว

แล้วจึงให้ชาวบ้านและพวกเราได้มีส่วนในบุญด้วยกันช่วยกันจุดไฟเผา

การเผาหลัวพระเจ้าจะทำกันในต้นหน้าหนาว เจตนาคือต้องการสร้างความอบอุ่นให้พระพุทธเจ้า

ไฟลุกโชติช่วง พระเณร ชาวบ้าน และพวกเรายืนล้อมกันดูจนไฟเริ่มมอด

จากนั้นจึงไปตานที่ศาลา เจ้าอาวาสคอยนั่งรับและให้พรเป็นรายๆ

การตานในคราวนี้ เราตานกันทั้งผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ตานให้พระ และตานคนเฒ่า
หลังจากเสร็จพิธีที่วัด เราก็เดินต่อไปตานยังบ้านพ่ออุ้ยแก่บ้าน พ่ออุ้ยจะคอยต้อนรับด้วยอาหารและพร

Sunday, November 29, 2009

โมเดลและแนวคิดการประกวดแบบรัฐสภาไทย


นายธรรมศักดิ์ อังศุสิงห์ (สถาปนิก110) ทำงานภายใต้แนวคิด รัฐสภาเป็นสถาบันการปกครองที่สำคัญของไทย รัฐสภาจึงควรเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ จึงนำดอกบัวที่เป็นดอกไม้ที่คนไทยใช้ไหว้พระ มาเป็นสัญลักษณ์ โดยตัวอาคารหลักมีลักษณะเป็นดอกบัว


บริษัทสถาปนิก 49 จำกัด ออกแบบจากแนวคิดระบบการปกครองไทย ที่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ลักษณะอาคารจะเป็นอาคารสูงสองตึกด้านซ้ายและขวา ตึกแรกเป็นที่ทำงานส.ส. ตึกที่สองเป็นที่ทำงานของส.ว. โดยมีห้องประชุมตรงกลางสองห้องระหว่างอาคารทั้งสองคื อ ห้องประชุมรัฐสภา และห้องประชุมวุฒิสภา


อาศรมศิลป์ ใช้ชื่อ "สัปปายะสภาสถาน" โดยคำว่า สัปปายะ แปลว่า สบาย ในทางธรรม หมายถึงสถานที่ประกอบกรรมดี ซึ่งเมื่อก่อนประเทศวิกฤต กษัตริย์จะสร้างสถานที่เพื่อปลุกขวัญกำลังใจ โดยการดำเนินชีวิตทางโลกียะ จะมีโลกุตระคือธรรมะกำกับ ซึ่งวันนี้บ้านเมืองเกิดวิกฤตความเสื่อมศีลธรรม จึงต้องฟื้นจิตใจของคนในชาติ จึงนำหลักการสถาปัตยกรรมไทยแบบแผนไตรภูมิตามพุทธคติม าเป็นแรงบันดาลใจออกแบบ โดยมีอาคารเครื่องยอดสถาปัตยกรรมไทย อยู่ตรงกลางอาคาร และเป็นโอกาสที่จะเป็นรัฐสภาระดับโลก ฟื้นสันติภาพ พลิกฟื้นจิตวิญญาณของมนุษย์โลก โดยการสถาปนาเขาพระสุเมรครั้งใหม่ในยุครัตนโกสินทร์


ผศ.วิเชษฐ์ สุวิสิทฐ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลักษณะอาคารหลักเป็นอาคารสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีลานด้านหน้า มีอาคารบริวาร 2 อาคาร สำหรับเป็นที่ทำงานของส.ส.และส.ว. มีศิลปินแห่งชาติร่วมออกแบบด้วย นอกจากนี้ยังนำแนวคิดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่อ าศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีทั้งวัด บ้านเรือน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยมาผสมผสาน


บริษัทดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด แนวคิดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศเมื่อปีพ. ศ. 2475 มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก จึงนำเอาพานแว่นฟ้า ซึ่งเป็นพานที่รองรับรัฐธรรมนูญมาเป็นแรงบันดาลใจในก ารออกแบบ ซึ่งอาคารหลักก็จะมีลักษณะเป็นพานแว่นฟ้า

Friday, October 30, 2009

การเดินทางตามหาตัวตน 2

อาจารย์สุพล เดินลุยทุ่งนาเพื่อหาเถงนา

เถงนาที่บ้านปางหมู

น้องๆแผนกต้อนรับยิ้มทักทายพวกเราที่บ้านผาบ่อง

อาจารย์สุพลสัมภาษณ์ พูดคุยกับเจ้าของเรือนงามๆที่ใต้ถุนเรือนอย่างตั้งใจ

เล้าข้าวที่เจ้าของออกจะงงๆเมื่อเราขอถ่ายรูป

กระด้งไม้ไผ่สานอาจจะไม่ทนทานเท่าสังกะสี พริกแห้งเลยถูกตากบนสังกะสีแทน

วิหารวัดท่าฟ้าใต้ วิหารแบบลื้อที่เมิงเชียงม่วน

กระสวยด้ายสีสวยรอให้ช่างทอเป็นผ้าผืนงาม

อาจารย์วีรพจน์นั่งที่ค่อม หย่อนขาลงไปที่ชาน มองเห็นเล้าข้าวอยู่เบื้องหลัง

ใต้ถุนเรือนมีกว่างยอดนักสู้ซุ่มรอวันประลอง

ฉ่ำฉาต้นที่เจ้าของพื้นที่บอกว่าสวยที่สุดในเมืองไทยที่บ้านหย่วน

รถถีบจอดกลางซอยก็ไม่มีปัญหาในชุมชนเล็กๆที่เวียงกาหลง

ทีมงานวิจัยสอดส่ายสายตาหาช้างเผือกในชุมชนเล็กๆบ้านนอก

ชาวนาเกี่ยวข้าวที่ทุ่งช้าง